วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การประชุมสรุปผลงานประจำปีข้าราชการสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายจัดการประชุมสรุปผลงานประจำปีข้าราชการสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย เพื่อทบทวนกิจกรรม นำเสนอปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข ในด้านการทำงานปศุสัตว์ ของแต่ละกลุ่มงาน เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ ที่โรงแรมไดมอนปาร์ควิว เชียงราย มีข้าราชการ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทั้งจังหวัดเข้าร่วมประชุม




วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ส่งเสริมการเลี้ยงไก่แบบมีตู้ฟักไข่ขนาดเล็ก 40-50 ฟองราคาประหยัด


ควรส่ิองไข่ 2 ครั้ง ก่อนนำไข่เข้าฟัก และอายุไข่ฟัก 10 วัน

เครื่่องส่ิงไข่ทำเอง 2 แบบ

ฝา ตู้ฟักไข่ เป็นเครื่องกกลูกไก่ 15 วัน
การผลิตตู้ฟักไข่ขนาดเล็ก ใช้งบประมาณไม่เกิน 2,000 บาท
 
ชุดควบคุมอุณหภูมิ ระบบดิจิตอล รุ่น FK945+อแดปเอตร์ ขนาด 12 โวลท์
หากเกษตรกรท่านใดสนใจตู้ฟักไข่ขนาด 40-50 ฟองราคาประหยัดสอบถามรายละเอียดได้
081-9525347

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อำเภอเคลื่อนที่ ประจำเดือน พ.ค. ถึง ก.ค. 53


16 ก.ค.2553 ณ โรงเรียนบ้านแม่ลอยไร่ ม.6 ต.แม่ลอย
กิจกรรม -แนะนำให้คำปรึกษาการเลี้ยงสัตว์
-การพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในฟาร์มเลี้ยงสัตว์


18 มิ.ย.2553 ณ หมู่บ้านพญาเลาอู ม.23 ต.ตับเต่า
กิจกรรม-ให้คำแนะนำการเลี้ยงสัตว์
-ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
14 พ.ค.2553 ณ โรงเรียนบ้านผาลาด ม.10 ต.หงาว
กิจกรรม-ให้คำแนะนำการเลี้ยงสัตว์
-ให้บริการฉีดยาคุมกำเนินสุนัข แมว





วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปฏิบัติงานคลินิคปศุสัตว์ในงานวันเกษตรกร

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย นำโดยนายวิทยา จินตนาวัฒน์ ปศุสัตว์จังหวัด ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายทุกอำเภอ ร่วมกันปฏิบัติงานคลินิคปศุสัตว์ บริเวณลานเอนกประสงค์ของเทศบาลเวียงเทิง เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓
คลิกดูประมวลภาพการเปิดงาน
นายจรูญ อุตุภรณ์ นำเสนอการสาธิตเพาะหนอนแมลงวัน สำหรับเลี้ยงสัตว์ให้หัวหน้าส่วนราชการจากจังหวัดชม


การแจกเวชภัณฑ์โดย นายพีระพันธ์ ตั้วตระการพงค์ จาก ปศุสัตว์เวียงชัย นายรัฐพล นาวา ปศุสัตว์พญาเม็งราย นายวันชัย ออสุข ปศุสัตว์เชียงของ
นายวิทยา จินตนาวัฒน์ นำหัวหน้าส่วนราชการชมการปฏิบัติงานของคลินิคปศุสัตว์
การผ่าตัดทำหมันสุนัข ทีมงานของอำเภอแม่สาย อำเภอพาน อำเภอดอยหลวง อำเภอแม่จัน

การแจกเวชภัณฑ์ ทีมงานจากอำเภอ แม่ฟ้าหลวงนายถนอม สุขสำราญ นายไชยนิรันตร์ สุนันต๊ะ อำเภอขุนตาลนายกมล ชัยวงค์ อำเภอเมืองนายนิคม ดอกสลิด อำเภอพญาเม็งรายนายรัฐพล นาวา อำเภอเวียงชัยนายพีระพันธ์ ตั้งตระการพงค์ และอำเภอเวีียงเชียงรุ้งนางสาวรัชนีกร บั้งเงิน

บรรยากาศ ช่วงพักรอพิธีการเปิดงานวันเกษตรกรประจำปี ๒๕๕๓ ของจังหวัดเชียงราย

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเพาะหนอนแมลงวันจากรำข้าว (หนอนรำข้าว)” เพื่อนำไปเป็นอาหารไก่พื้นเมือง






หนอนรำข้าว
เป็นการนำรำหยาบจากโรงสีข้าวขนาดเล็กในชุมชนซึ่งมีราคาถูก และมีโปรตีนต่ำประมาณ6-8 % และไก่ไม่กินจะเขี่ยทิ้งเป็นส่วนมาก เกิดความเสียหาย แต่เกษตรกรสามารถ เสริมโปรตีนให้รำหยาบธรรมดาๆ ให้มี % โปรตีนประมาณ 40-50 % ได้ในเวลา 4-5 วัน โดยการนำรำหยาบไปเลี้ยงหนอนแมลงวัน ซึ่งเหมาะสำหรับเป็นอาหารเลี้ยงไก่ และปลาดุกอีกด้วย

ข้อดี
-เพิ่ม % โปรตีนให้รำหยาบ ประมาณ 40-50 %
-ผลิตหนอนรำข้าวได้ทั้งปี หรือในฤดูหนาว
-ลดต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์
-ตัดวงจรชีวิตแมลงวัน เพื่อลดปริมาณประชากรแมลงวัน
-เพาะเลี้ยงง่ายใช้เวลาน้อย ราคาถูก
-ไม่มีกลิ่นเหม็นรบกวนผู้เลี้ยง
-ง่ายสำหรับจัดเก็บตัวหนอนไว้เป็นเสบียงอาหารโปรตีนไว้กินในวันต่อไป
ข้อเสีย
-อาจจะมีกลิ่นเหม็นบ้างในบางรายที่เพาะเลี้ยงผิดวิธี
-ปริมาณของหนอนแมลงวันมีมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัสดุตัวล่อ จำนวนแมลงวัน และอุณหภูมิ
อุปกรณ์
1.ถังพลาสติกมีฝาปิด ขนาด 20 ลิตร จำนวน 1 ถัง
2.รำหยาบ จำนวน 2 ก.ก.
3.ผลไม้ที่มีรสหวาน(สับเป็นชิ้นเล็กๆ) จำนวน 1 ก.ก.
4.น้ำหัวเชื้อ EM หรือจุลินทรีย์ จำนวน 200 ซี.ซี.
5.น้ำ จำนวน 1-2 ลิตร
6.ตัวล่อแมลงวัน เช่น ปลาร้า,หอย,ปู,ปลาดิบ จำนวน 2-3 ขีด
วิธีทำ
1.นำ รำหยาบ + ผลไม้ + หัวเชื้อ EM + น้ำ ผสมลงในถังให้เข้ากัน
จนมีความชื้นพอหมาดๆ
2.นำ ตัวล่อแมลงวัน วางบนรำหยาบ
3.ปิดฝา โดยเจาะรูที่ฝาถัง ขนาด 2 X 2 นิ้ว 4 ถึง 5 รู
4.นำไปไว้บริเวณที่มีแมลงวันมากๆ ควรไว้ในที่ร่ม และสงบ 2-3 วัน
5.ได้ลูกหนอนมากจนพอใจแล้ว ให้เปิดฝาออกแล้วคนผสมถังหนอนให้เข้ากันและทิ้งพื้นที่ในมีการระบายอากาศ มากๆ คนผสมบ่อยๆ เป็นเวลา 2 วัน
6.จะเห็นว่ารำหยาบที่เลี้ยงหนอนรำข้าว จะเปลี่ยนสี เป็นสีคล่ำ หรือน้ำตาล ก็สามารถนำมาเลี้ยงไก่ได้
7.ไม่ควรปิดฝา เพาระจะทำให้หนอนแมลงวันหนี และตายได้เพราะรำหยาบเกิดการหมัก และเกิดความร้อนตลอดเวลา
*****ความร้อนนี้ทำให้ไข่หนอนฟักเป็นตัวได้ง่ายและโตเร็วจึงสามารถนำไป เลี้ยงบนดอยหรือที่ที่มีอากาศหนาวได้แต่ปริมาณอาจจะน้อยแต่ก็เลี้ยงได้เช่น กัน****


การนำหนอนไปเป็นอาหารไก่พื้นเมือง
สูตรที่ 1 ลูกไก่กินปลายข้าว หรือข้าวเปลือกบดอย่างเต็มที่ แล้วเสริมหนอนรำข้าว ให้กิน 2-3 เวลา ต่อวัน (สำหรับผู้เลี้ยงไก่อินทรีย์)
สูตรที่ 2 ลูกไก่กินอาหารสำเร็จรูปผสมปลายข้าว อัตรา 1 : 1 อย่างเต็มที่ แล้วเสริมหนอนรำข้าว ให้กิน 2-3 เวลา ต่อวัน (สำหรับผู้เลี้ยงไก่ปกติ)
สูตรที่ 3 ไก่รุ่น – พ่อ แม่พันธุ์ นำหนอนรำข้าว + ปลายข้าว + รำหยาบ + หยวกกล้วยหมัก ให้กินอย่างพอเพียง 2 เวลา ต่อวัน
สูตรที่ 4 ตามความคิดและประสบการณ์ของผู้เลี้ยงเป็นดีที่สุด

มีปัญหาข้องใจการปฏิบัติเรื่องเลี้ยงหนอนเชิญติดต่อเรา
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ เทิง จังหวัดเชียงราย
053-796241 , 081-9525347

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การฝึกอบรมอาสาปศุสัตว์

สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเทิงร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอป่าแดด ดำเนินการฝึกอบรมทบทวนความรู้ให้อาสาปศุสัตว์ประจำหมู่บ้านระหว่างวันที่ ๙ถึง ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ณ ห้องอาคารศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเทศบาลตำบลเวียงเทิง มีการบรรยายเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับหน้าที่อาสาปศุสัตว์ ความรู้เรื่องโรคสัตว์เบื้องต้น การพูดในที่ชุมชน และวันสุดท้ายมีการจัดฐานฝึกปฏิบัติงานจริง ตามฐานฝึกปฏิบัติ จำนวน 4 ฐาน ได้แก่ ฐานสัตว์ใหญ่ ฐานสัตว์เล็ก ฐานสัตว์ปีกและฐานการเลี้ยงสัตว์ต้นทุนต่ำ มีอาสาปศุสัตว์เข้าร่วมฝึกจำนวน ๕๒ ราย (อำเภอเทิง ๔๗ ราย อำเภอป่าแดด ๕ ราย)นายจรูญ อุตุภรณ์ ปศุสัตว์อำเภอเทิง บรรยายการจัดการเลี้ยงสัตว์ (ฐานสัตว์ใหญ่)
ฝึกการทำวัคซีนไก่ ทุกชนิดอย่างเข้าใจ โดยนายวีรพงษ์ สวยสม เจ้าหน้าที่สัตวบาลจากอำเภอป่าแดด
ฝึกการฉีดวัคซีนและการฉีดยาแบบต่างๆ (ฐานสัตว์ปีก)ควบคุมโดยนายจรูญ วงค์อินหงาว เจ้าหน้าที่สัตวบาลอำเภอเทิง
เรียนรู้การจัดการอาหารสัตว์แบบต่างๆ(ฐานการเลี้ยงสัตว์ต้นทุนต่ำ)โดยนายคณบดี นามชื่อ เจ้าพนักงานสัตวบาล อำเภอเทิงฝึกการลงทะเบียนสุนัขแมวตลอดจนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (ฐานสัตว์เล็ก)โดยนายออดี้ ช่างปัด สัตวแพทย์ชำนาญงาน



ฟังบรรยายภาคทฤษฏีในห้องอบรม

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ตรวจมาตรฐานฟาร์มผึ้ง

สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเทิง และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ออกปฏิบัติการตรวจมาตรฐานฟาร์มผึ้ง ในพื้นที่อำเภอเทิง เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓